หมวด โบราณคดี
ระบำศรีวิชัย




ระบำศรีวิชัย
เป็นระบำราณคดีเกิดขึ้นเมื่อกลางปี พ.ศ. 2509 เกิดขึ้นจากแนวความคิดสร้างสรรค์ของนายธนิต อยู่โพธิ์ อดีตอธิบดีกรมศิลปากร ได้รับแจ้งจากคุณประสงค์ บุญเจิม เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ว่าท่าน ตนกู อับดุล ราหมาน อดีตนายกรัฐมนตรีมาเลเซีย ต้องการจะได้นาฎศิลป์จากประเทศไทยไปถ่ายทำเป็นภาพยนต์ เรื่อง Raja Bersiyong ซึ่งเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับอาณาจักรศรีวิชัยและได้มีหนังสือเชิญคระนาฏศิลปไทย ไปแสดงประกอบภาพยนตร์เรื่องนี้ กรมมศิลปากรได้จัดการแสดง 2 ชุดคือ รำซัดชาตรีชุดหนึ่ง และอีกชุดหนึ่งได้มอบให้ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฏศิลปไทย คือ อาจารย์ลมุล ยมะคุปต์ ละอาจารย์เฉลย ศุขะวิณิช ประดิษฐ์ท่ารำขึ้นใหม่จากภาพสลัก และภาพปูนปั้นสมัยสรีวิชัย เช่นจากพระสถูปบุโรบุคโค ในอินโดนีเซีย ประสมกับท่ารำชวาและบาหลี ผู้ประดิษฐ์ทำนอง เพลง คือศาสตราจารย์มนตรี ตราโมท และนายสนิท ดิษฐ์พันธ์ ออกแบบเครื่องแต่งกาย ในปี พ.ศ. 2510 ได้ปรับปรุงท่ารำใหม่บางท่า และเปลี่ยนทำนองเพลงใหม่บางตอน เพื่อให้เข้าชุดกับระบำโบราญคดีชุดอื่น ๆ อีก 4 ชุด นำออกแสดงให้ประชาชนชมครั้งแรกในงานดนตรีมหกรรม ณ สังคีตศาสา เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2510 และได้แสดงถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินี ฯ ในงานเปิดอาคารใหม่พิพิธภัณฑ์ ฯ วันที่ 25 พฤษภาคม 2510



ระบำศรีวิชัย นาฏสัมพันธ์ รับจัดการแสดง นาฏศิลป์ไทย

ท่ารำระบำศรีวิชัยประดิษฐ์ขึ้นจากภาพจำหลักและภาพปูนปั้นสมัยศรีวิชัย ประสมกับท่ารำชวาและบาหลี สอดแทรกลีลาทางนาฎศิลป์ ลักษณะรำบางท่าคล้ายท่ารำของชวา และบาหลี เช่น การตั้งวงกันศอก ออกเป็นวงโค้ง การทำมือ การใช้คอยักคอเหมือนนาฎศิลป์ชวาและบาหลี การตั้งท่านิ่ง ท่าบิดสะโพกคล้ายท่ารำของบาหลี



ดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดงระบำศรีวิชัย

1. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด ได้แก่ กระจับปี่ คือ พิณ 4 สายชนิดหนึ่ง

2. เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสี ได้แก่ ซอสามสาย

3. เครื่องดนตรีประเภทตี ได้แก่ ตะโพน กลองแขก ฆ้อง 3 ลูก ฉิ่ง กรับ ฉาบ

4. เครื่องดนตรีประเภทเป่า ได้แก่ ขลุ่ย





ระบำศรีวิชัย นาฏสัมพันธ์ รับจัดการแสดง นาฏศิลป์ไทย


เครื่องแต่งกาย

- เสื้อในนาง ตัวเสื้อใช้ผ้าต่วนเนื้อหนาสีเนื้อ เป็นเสื้อเข้ารูปไม่มีแขน ดันทรง เปิดช่วไหล่และหลัง

- ผ้านุ่ง เป็นผ้าโสร่งบาติค เย็บเป็นจีบหน้านางเล็กๆ อยู่ตรงกลางด้านหน้า ไม่มีชายพก

- ผ้าคาดรอบสะโพก ใช้ผ้าแพรเนื้อบาง มี 2 สี คือ สีเขียว และสีแดง

- เข็มขัด ทำด้วยโลหะชุบทอง ลายโปร่งเป็นข้อๆ ต่อกัน หัวเข็มขัดทำด้วยหนังลงรักปิดทอง ประดับพลอยสี

- ต่างหู เป็นต่างหูแบบห้อย ตรงส่วนแป้นหูทำด้วยหนังลงรักปิดทอง ประดับด้วยพลอยสี

- สร้อยคอ เป็นห่วงๆ ต่อกัน ประดับด้วยพลอยสีแดงและสีเขียว

- สร้อยสะโพก เป็นห่วงๆ ต่อกัน ทำด้วยหนังลงรักปิดทอง ประดับด้วยพลอยสีเขียวหรือสีแดง

- กำไลต้นแขน มีลักษณะโปร่งตรงกลาง ด้านหน้าของกำไลเป็นรูปกลมเรียงสูงขึ้นไป 3 ชั้น

- กำไลมือ มีลักษณะกลม ประดับด้วยพลอยสีขาว

- กำไลข้อเท้า ลักษณะกลมแต่ด้านในทึบ ตัวกำไลสลับลวดลายทำด้วยหนังลงรักปิดทอง ประดับพลอย

- โบ โบเส้นเล็กๆ สำหรับสอดใต้เข็มขัด

- ผ้าสไบ มีแผ่นโค้งเหนือไหล่ตอดสร้อยตัว 2 เส้น ประกอบด้วยผ้าแพรบาง ความยาวเท่ากับสร้อย ชายผ้าและสร้อยตัวทั้งสองข้างติดอยู่กับเครื่องประดับสีทอง ที่ใช้คล้องไว้บนไหล่เครื่องประดับนี้ ทำด้วยหนังลงรักปิดทอง ประดับด้วยพลอยสีเขียว สีแดง ส่วนสร้อยตัวเป็นโซ่ห่วงทองเล็กๆ ต่อให้ติดกัน ทำด้วยโลหะชุบทอง

- กะบังหน้า มีลักษณะคล้ายกะบังหน้าธรรมดา ตรงกลางด้านหน้าเป็นรูปกลมและต่อยอดกลมให้แหลมถึงตรงปลาย ประดับด้วยพลอยสีขาว

- ปิ่นปักผม ตรงโคนที่ใช้ปักผมนั้นเรียวแหลม ส่วนตอนปลายกลึงจนมีลักษณะกลม ประดิษฐ์ขึ้นด้วยไม้นำมากลึงตามลักษณะ แล้วทาสีทองทับ


โอกาศที่ใช้แสดง


ชมแล้ว [ 7772 ] 05 มี.ค. 53 17:35


กลับ