ฟ้อนเทียน เป็นระบำที่อ่อนช้อย แบบหนึ่งตามลักษณะของการฟ้อนของไทยภาคเหนือ ลักษณะการรำจะก้าวเท้าเรียงตามกันช้าๆ ผู้ฟ้อนถือเทียนจุดไฟมือละเล่มทั้ง 2 มือ ใช้ฟ้อนเวลากลางคืน ถ้าเป็นตอนกลางวันมักจะเป็นการฟ้อนเล็บ ความงามของการฟ้อนอยู่ที่ความเป็นระเบียบ ความพร้อมเพรียง และแสงเทียนสลัวๆที่ส่องวับๆแวบๆ การร่ายรำที่เคลื่อนไหวช้าๆ เพื่อไม่ให้เทียนดับ
เข้าใจว่า
ฟ้อนเทียนนี้แต่คงจะเดิมเป็นการฟ้อนสักการะบูชาแด่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่นเดียวกับ Temple dance แต่ก่อนมาแสดงประกอบพิธีเฉพาะในงานสำคัญในพระราชฐาน เช่นในคุ้มหลวง ผู้ฟ้อนโดยมากล้วนเป็นเจ้านายเชื้อพระราชวงศ์ฝ่ายในทั้งสิ้นในสมัยโบราณจึงมีศิลปะที่ไม่สู้จะได้ชมบ่อยนัก การฟ้อนเทียนครั้งสำคัญที่เราได้ยินเลื่องลือกัน เป็นครั้งหลังก็เมื่อคราวพระราชชายาเจ้าดารารัศมีทรงฝึกหัดหญิงชาวเหนือ ให้ฟ้อนถวายรับเสด็จพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวคราวเสด็จประพาสมณฑลฝ่ายเหนือเมื่อ พ.ศ. 2496 และครูนาฎศิลป์ของกรมศิลปากรได้ฝึกจำมา แต่บทร้องใช้ประกอบการรำนั้นมีทั้งบทพระราชนิพนธ์ของเจ้าดารารัศมี และบทที่ประพันธ์ขึ้นใหม่ โดยอาศัยเค้าของเก่า
เนื้อเพลง บทร้องระบำซอสมโภชช้าง (พระราชชายา เจ้ารัศมี ประพันธ์)
สรวมชีพข้าให้ อภิวาทไหว้เหนือเกศี
ดิเรกรัฐนฤบดี แทบธุลีละอองพระบาทเจ้า
พระเดชพระคุณพระปกเกล้าฯ ไพร่ฟ้าอยูชุ่มสุขเย็น
ทำนองซอยิ้น
ลาน้อมเกล้าข้าพระพุทธเจ้ากราบทูลฉลอง
บทรัตน์พระยุคลทองใต้ฟ้าละอองธุลีพระบาท
บทร้องฟ้อนเทียน
(อาจารย์มนตรี ตราโมท แต่งใหม่)
โยนก
ร่วมชีพขอนมัสการพระทรงญาณชินศร
ไหว้พระธรรมล้ำธรณี อัญชลีพระสงฆ์เจ้า
ขอจงพระเดชพระปกเกศาเกล้า
เหล่าข้าผู้รำฟ้อนสราญ
ซอยิ้น
ปวงข้าเจ้า ยินดีที่เนาในถิ่นไทยสถาน
ระเริงระรื่นชุ่มชื่นใจบาน ทุกทิศเทิดศานติสุขนานา
เบิ่งดอกไม้กิ่งงามวิลัย ละลอพอตา
หลายสีเลอสรรค์ ลากพันธ์ผกา กลิ่นรื่นนาสาพาใจใฝ่ชม
ปวงประชา ยอพักตร์ลักขณา ทรงงามขำคม
หน้าตาชื่นบานสำราญอารมณ์ จิตน้อมนิยมโอบอ้อมอารี
มั่นรักษาพุทธศาสนา แนบดวงฤดี
ส่งเสริมศิลป์บ่ ละประเพณี ผูกมิตรไมตรี ตรึงชาติชนปางฯ
โอกาศที่ใช้แสดง
ชมแล้ว [ 15969 ] 17 ก.พ. 53 10:08
Hotline : 085-507-6205