ฟ้อนเงี้ยวเป็นการแสดงพื้นเมืองของชาวเขาเผ่าหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า
เงี้ยว มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือของประเทศไทย นางลมุล ยมคุปต์ ผู้เชี่ยวชาญการสอนนาฎศิลป์ วิทยาลัยนาฎศิลป์กรมศิลปากรได้มีโอกาสไปสอนละครที่คุ้มเจ้าหลวง เจ้าแก้วนวรัฐ ผู้ครองนครเชียงใหม่ และได้เห็นการ
ฟ้อนเงี้ยว เรียกตามภาษาพื้นเมืองว่า เงี้ยวปนเมือง ของคุ้มเจ้าหลวง ซึ่งมีนางหลง บุญจูหลงเป็นผู้ฝึกสอน ในความควบคุมของพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ในรัชการที่ 5
ต่อมานางลมุล ยมคุปต์ ได้รับราชการเป็นครูสอนนาฎศิลป์ ที่วิทยาลัยนาฎศิลป์(ในขณะนั้นเรียกว่า โรงเรียนนาฎดุริยางค์ศาสตร์) และได้นำลีลาท่ารำ
ฟ้อนเงี้ยว มาปรับปรุงขึ้นใหม่ให้งดงามตามแบบฉบับนาฎศิลป์ไทย บรรจุไว้ในหลักสูตรวิชานาฎศิลป์ เมื่อ พ.ศ. 2478 บทร้องของ
ฟ้อนเงี้ยว มีลักษณะเป็นบทอวยพร คือ อาราธนาพระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ เทพยดา สิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายมาปกป้องคุ้มครองอวยชัยให้พรเป็นสวัสดิมงคลต่อไป
เครื่องดนตรีได้แก่ วงปี่พาทย์ ซึ่งเป็นวงปี่พาทย์เครื่องห้า เครื่องคู่ หรือเครื่องใหญ่ สุดแท้แต่โอกาสและความเหมาะสม
การแต่งกาย ฟ้อนเงี้ยว แสดงในชุดหญิงล้วน หรือชุด ชาย-หญิง ส่วนใหญ่ลักษณะการแต่งกายมีทั้งแบบชาวเขา แบบ
ฟ้อนเงี้ยว ที่กรมศิลปากรประดิษฐ์ขึ้น และแบบพื้นเมืองที่น่าสังเกตก็คือ ผู้แสดงจะถือกิ่งไม้ไว้ในมือทั้งสอง เพื่อเป็นการปัดเป่าสิ่งที่ไม่ดีไปเสีย
ขออวยชัย พุทธิไกรช่วยค้ำ
ทรงคุณเลิศล้ำ ไปทุกทั่วตัวตน
จงได้รับสรรพมิ่งมงคล นาท่านนาขอเทวาช่วยรักษาเถิด
ขอฮื่ออยู่สุขา โดยธรรมานุภาพเจ้า
เทพดาช่วยเฮา ฮื้อเป็นมิ่งมงคล
สังฆานุภาพเจ้า ช่วยแนะนำผลสรรพมิ่งทั่วไปเนอ
มงคลเทพดาทุกแห่งหน ขอบันดลช่วยค้ำจุน
โอกาศที่ใช้แสดง
ชมแล้ว [ 6940 ] 19 ก.พ. 53 06:03
Hotline : 085-507-6205