หมวด พื้นเมือง
รำวงมาตรฐาน




รำวงมาตรฐาน

รำวง (Ramwong) เป็นการละเล่นของชาวบ้านที่ร่วมเล่นกันเพื่อความสนุกสนานและความสามัคคี แต่เดิมเรียกว่า รำโทน เนื่องจากใช้โทนตีประกอบจังหวะในการรำ ต่อมาเพิ่มกรับและ ฉิ่ง แต่ยังไม่มีการขับร้องประกอบในการรำ คงรำไปตามจังหวะโทนอย่างเดียว ลักษณะการรำโทนรำเป็นคู่ ๆ เดินเป็นวงกลม ใช้ท่ารำง่าย ๆ สุดแท้แต่ใครจะรำหรือทำท่าใด ไม่มีกำหนดกฎเกณฑ์ ขอเพียงแต่ย่ำเท้าให้ลงตามจังหวะโทน

ต่อมาการเล่น รำโทน ได้พัฒนามาเป็น รำวง


รำวงมาตรฐาน นาฏสัมพันธ์ รับจัดการแสดง นาฏศิลป์ไทย
ลักษณะการรำวงคือ มีโต๊ะตั้งกลางวง ชาย หญิงรำเป็นคู่ ๆ เดินเป็นวงกลมอย่างมีระเบียบ แต่ยังคงยึดจังหวะโทนเป็นหลัก มีการ ขับร้องเพลงประกอบในการรำ เรียกว่า รำวงพื้นบ้าน การรำวงนี้นิยมเล่นในงานเทศกาล หรือเล่นกันเองด้วยความสนุกสนาน เนื้อหาสาระของเพลงรำวงพื้นเมือง นอกจากให้ความบันเทิงแล้วยังสอดแทรกอารมณ์ ความรู้ ขนบธรรมเนียมประเพณี เช่น เพลงช่อมาลี เธอรำช่างน่าดู หล่อจริงนะดารา ตามองตา ยวนยาเหล ใกล้เข้าไปอีกนิด ฯลฯ

ต่อมาในสมัยรัฐบาล จอมพล ป. พิบูลสงคราม พ.ศ. 2487 ได้มอบหมายให้กรมศิลปากร ปรับปรุงการเล่นรำวงพื้นบ้าน ให้มีระเบียบเรียบร้อย เป็นแบบฉบับอันดีงามของนาฏศิลป์ไทยและเพื่อเป็นการอนุรักษ์ศิลปะการละเล่นพื้นเมือง กรมศิลปากรจึงแต่งบทร้องและทำนองเพลงขึ้นใหม่ 4 เพลง คือ งามแสงเดือน ชาวไทย คืนเดือนหงาย และรำมาซิมารำ พร้อมทั้งปรับปรุงเครื่องดนตรีที่ใช้บรรเลงประกอบการเล่นรำวงมาเป็นวงปี่พาทย์หรือวงดนตรีสากล

บทเพลงรำวงมาตรฐานนี้ ท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม ได้แต่งบทร้องอีก 6 เพลง คือ ดวงจันทร์วันเพ็ญ ดอกไม้ของชาติ หญิงไทยใจงาม ดวงจันทร์ขวัญฟ้า ยอดชายใจหาญ และ บูชานักรบ



รำวงมาตรฐาน นาฏสัมพันธ์ รับจัดการแสดง นาฏศิลป์ไทย
ผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำประกอบเพลงรำวงทั้ง 10 เพลงนั้น คือ คณะอาจารย์ด้านนาฏศิลป์ของกรมศิลปากร ได้ช่วยกันคิดประดิษฐ์ท่ารำให้งดงามถูกต้องตามหลักนาฏศิลป์ กำหนดให้เป็นแบบมาตรฐาน ผู้คิดประดิษฐ์ท่ารำของรำวงมาตรฐาน คือ หม่อมต่วน (นางศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก) ครูมัลลี คงประภัทร์ ครูลมุล ยมะคุปต์ และครูผัน โมรากุล ต่อมาได้มีการนำรำวงนี้ไปสลับกับวงลีลาศ ทำให้ชาวต่างประเทศรู้จักรำวง เพื่อให้ประชาชนชาวไทยได้เล่นกันแพร่หลาย และมีแบบแผนอันเดียวกัน กรมศิลปากรจึงเรียกว่า รำวงมาตรฐาน

วิธีเล่นรำวงมาตรฐาน
1. แสดงเป็นคู่ ชาย หญิง จะใช้กี่คู่ก็ได้ขึ้นอยู่กับสถานที่
2. ก่อนเริ่มรำ หญิง ชาย ทำความเคารพกันด้วยการไหว้ หรือ หญิงพนมมือไหว้ ชายโค้ง
3. ก่อนรำแต่ละเพลง ดนตรีนำ 1 วรรค เพื่อให้การเดินเท้าในจังหวะแรกพร้อมเพรียงกัน
4. มีความพร้อมเพรียงในการรำ ระยะคู่ไม่ห่างหรือชิดกันเกินไป
5. ใช้ท่ารำตามที่กำหนดไว้ในแต่ละเพลง
6. พนมมือไหว้ซึ่งกันและกัน ก่อนที่จะออกจากวงรำ

ลักษณะการแต่งกายรำวงมาตรฐาน
การแต่งกายรำวงมาตรฐานแต่งได้ 3 แบบ คือ
1. แบบพื้นเมือง
ชาย นุ่งผ้าโจงกระเบน สวมเสื้อคอกลม มีผ้าคาดเอว
หญิงนุ่งผ้าโจงกระเบน ห่มสไบอัดจีบ คาดเข็มขัด

2. แบบไทยพระราชนิยม
ชาย สวมกางเกงขายาว ใส่เสื้อพระราชทาน (แขนยาวหรือสั้นก็ได้) สวมรองเท้า (แบบที่ 1)
ชาย นุ่งผ้าโจงกระเบน ใส่เสื้อราชประแตน สวมรองเท้า ถุงเท้ายาว (แบบที่ 2)
หญิง แต่งชุดไทยเรือนต้น และชุดไทยสมัยรัชกาลที่ 5 สวมรองเท้า

3. แบบสากลนิยม
ชาย แต่งชุดสูทสากล สวมเสื้อเชิ้ตแขนยาว ผูกเนคไท สวมรองเท้า
หญิงชุดไทย

เพลงรำวงมาตรฐานและท่ารำที่ใช้

เพลงและท่ารำที่ใช้ประกอบการเล่นรำวงมาตรฐาน ทั้ง 10 เพลง มีดังนี้

ชื่อเพลง ท่ารำที่ใช้
1. เพลงงามแสงเดือน ชายและหญิง สอดสร้อยมาลา
2. เพลงชาวไทย ชายและหญิงชักแป้งผัดหน้า
3. เพลงรำมาซิมารำ ชายและหญิง รำส่าย
4. เพลงคืนเดือนหงาย ชายและหญิง สอดสร้อยมาลาแปลง
5. เพลงดอกไม้ของชาติชายและหญิง รำยั่ว
6. เพลงดวงจันทร์วันเพ็ญ ชายและหญิง แขกเต้าเข้ารัง และ ผาลาเพียงไหล่
7. เพลงหญิงไทยใจงาม ชายและหญิง พรหมสี่หน้า และ ยูงฟ้อนหาง
8. เพลงดวงจันทร์ขวัญฟ้าชายและหญิง ช้างประสานงา และ จันทร์ทรงกลดแปลง
9. เพลงยอดชายใจหาญ ชาย จ่อเพลิงกาฬ หญิง ชะนีร่ายไม้
10. เพลงบูชานักรบชาย จันทร์ทรงกลด / ขอแก้ว หญิง ขัดจางนาง / ล่อแก้ว


โอกาศที่ใช้แสดง


ชมแล้ว [ 10719 ] 19 ก.พ. 53 06:20


Back