หมวด โบราณคดี
ระบำทวารวดี




ระบำทวารวดี




เป็นระบำชุดที่ 1 ในระบำโบราณคดีที่เกิดขึ้นจากแนวความคิดของนายธนิต อยู่โพธิ์ (อดีตอธิบดีกรมศิลปากร) ซึ่งต้องการศึกษา และเรียนรู้เรื่องเครื่องแต่งกายของมนุษย์ เพื่อประโยชน์แก่วิชาประวัตศาสตร์ และโบราณคดี โดยทูลขอร้องให้หม่อมเจ้ายาใจ จิตรพงศ์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งสถาปนิกพิเศษของกรมศิลปากร ทางศึกษาแบบอย่าง และเขียนเลียนแบบเครื่องแต่งการสมัยทวารวดีบางรูป โดยในครั้งแรกคิดจะจัดสร้างเครื่องแต่งกายตามสมัยโบราณคดี ถวายทอดพระเนตรในงานเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดการแสดงศิลปะโบราณวัตถุในอาคาร สร้างใหม่ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร แต่หลังจากได้ภาพตามต้องการแล้ว จึงเปลี่ยนแนวความคิดใหม่ในการจัดแสดงระบำโบราณคดีชุดต่าง ๆ ถวายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ทอดพระเนตรแทนการจัดแสดงเครื่องแต่งกาย



ระบำนี้ประดิษฐ์ขึ้นจากการนค้นคว้าหลักฐานทางโบราณคาดีสมัยทวารวดี ท่ารำและ เครื่องแต่งกายได้แนวคิดจากภาพสลัก ภาพปั้นที่ขุดค้นพบ ณ โบราณสถานที่ตำบลคูบัว อำเภอ อู่ทอง จังหวัดนครปฐมและที่ตำบลโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์ ฯลฯ นักโบราณคดี สันนิฐานว่าชาวทวารวดีเป็นต้นเชื้อสายพวกมอญ ดังนั้นลีลาท่ารำ รวมทั้งเนียงทำนองเพลง จึงเป็นแบบมอญ ท่ารำบางท่าได้ความคิดมาจากภาพสลัก และภาพปูนปั้นที่ค้นพบโบราณสถานที่ สำคัญ เช่น





ระบำทวารวดี นาฏสัมพันธ์ รับจัดการแสดง นาฏศิลป์ไทย



- ท่านั่งพับเพียบ มือขวาจีบตั้งข้อมือระดับไหล่ มือซ้ายวางบนตัก ท่านี้เป็นท่าที่ได้จากภาพปูนปั้น นักร้องนักดนตรีหญิงสมัยทวารวดีซึ่งพบที่ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี



- ท่ามือซ้ายคว่ำฝ่ามือ งอนิ้วทั้ง 4 เล็กน้อยปรกหู มือขวาหงายฝ่ามือ ปลายนิ้วมือจรดที่หน้าขาเกือบถึงข่าซ้าย เขย่งเท้าซ้าย ย่อเข่าทั้ง 2 ข้างลง กดไหล่ว้าย ลักคอข้างขวา ท่านี้เรียกว่าท่าลลิตะ จากภาพปูนปั้นกินรีฟ้อนรำ ที่ตำบลโคกไม้เดน จังหวัดนครสวรรค์



- ท่ามือซ้ายจีบหันฝ่ามือเข้าหารักแร้ มือขาวจีบตั้งวงกันศอกระดับไหล่ ดกไหล่ขวา ลักคอทางซ้าย เท้าขวาเขย่ง ส้นเท้าขวาชิดกับข้อเท้าซ้าย ซึ่งยืนเต็มเท้า ย่อเข่าทั้ง 2 ข้างและกับเข่าขวา ท่านี้เป็นท่าที่ได้จากการภาพปูนปั้นที่ตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี



การแต่งกาย

เครื่องแต่งกายชุดระบำทวารวดี ได้แบบอย่างมาจากภาพปูนปั้น ที่ค้นพบตามสถานที่สำคัญต่าง ๆ สมัยทวารวดี และได้นำมาประดิษฐ์ให้เหมาะสมกับการแสดง ซึ่งมีดังนี้




1. ผมเกล้าสูงกลางศีรษะในลักษณะคล้ายลูกจันแบน สวมเกี้ยวรัดผม

2. สวมกระบังหน้า

3. สวมต่างหูเป็นห่วงกลมใหญ่

4. สวมเสื้อในสีเนื้อ ( แทนการเปลือยอกตามภาพปั้น )

5. นุ่งผ้าลักษณะคล้ายจีบหน้านางสีน้ำตาลแถวหนึ่ง และสีเหลืองอ่อนแถวหนึ่ง มีตาลสีทองตกแต่งเป็นลายพาดขวางลำตัว

6. ห่มสไบเฉียง ปล่อยชายไว้ด้านหน้า และด้านหลัง

7. สวมกำไลข้อมือ ต้นแขนโลหะ และแผงข้อเท้าผ้าติดลูกกระพรวน

8. สวมจี้นาง

9. คาดเข็มขัดผ้าตาดเงิน หรือเข็มขัดโลหะ



ภาพการแต่งกายชุดทวารวดี





ระบำทวารวดี นาฏสัมพันธ์ รับจัดการแสดง นาฏศิลป์ไทย



เครื่องดนตรีที่ใช้ประกอบการแสดง มีดังนี้

พิณ 5 สาย

จะเข้

ระนาดตัด

ตะโพนมอญ

ฉิ่ง

ฉาบ

กรับ



ที่มา :

http://cdare.bpi.ac.th/VariousDancing/ThawarawadiDancing.html

http://www.fabeta.finearts.go.th/node/337


โอกาศที่ใช้แสดง


ชมแล้ว [ 4689 ] 16 ก.ค. 55 11:31


กลับ