ไหซอง
เป็นเครื่องดนตรีไทยภาคอีสาน ทำมาจากไหน้ำปลาหรือไหปลาร้าที่ไม่ใช้แล้ว ขึงด้วยยางหนังสติ๊กหรือยางอื่นๆ บริเวณปากไห จัดเป็นชุด ชุดละหลายใบ โดยมีขนาดลดหลั่นกัน บรรเลงโดยการดีดด้วยนิ้ว ให้เสียงทุ้มคล้ายกีตาร์เบส ทำหน้าที่เป็นเครื่องประกอบจังหวะ ใช้บรรเลงประกอบในวงดนตรีพื้นเมืองภาคอีสานหรือที่นิยมเรียกว่าวงโปงลาง
ปัจจุบันวงโปงลางส่วนใหญ่นิยมใช้พิณเบส แทนการใช้ไหซอง เนื่องจากให้เสียงดังกว่าและสามารถบรรเลงพลิกแพลงได้มากกว่า จึงแทบไม่มีการดีดไหซองเพื่อการบรรเลงจริงๆแล้ว การดีดไหซองในปัจจุบันเป็นเพียงการแสดงลีลาการดีดประกอบท่าฟ้อนรำ นิยมใช้ผู้หญิงเป็นผู้ดีด เรียกว่า นางไห ใช้แสดงในงานรื่นเริงต่างๆ
ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/ไหซอง
ไหซอง
เป็นเครื่องดนตรีประเภทคุมจังหวะ ให้เสียงทุ้มต่ำ แตกต่างกันขึ้นอยู่กับความโตของไหที่ใช้ และความตึงหย่อนของหนังยางที่ขึงพาดอยู่ปากไห
ไหซอง โดยทั่วไป นิยมใช้บรรจุปลาร้า เกลือ และหมักสาโท ยังไม่ทราบชัดเจนว่า ใครเป็นผู้นำไหซอง มาทำเป็นเครื่องดนตรีคนแรก
ไหซอง ทำเป็นเครื่องดนตรี ได้โดย ใช้สายยาง หรือสายหนังสะติ๊ก (สมัยก่อน ใช้ยางในรถจักรยาน หรือยางในล้อรถ ต่อมาใช้ยางหนังสะติ๊ก) ขึงให้ตึงพาดผ่านปากไห และมัดยึดปลายสองด้านไว้กับคอไห ปรับความตึงของหนังยางให้พอเหมาะ
เวลาจะเล่น ใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้เกี่ยวดึงสายหนังยางขึ้นมาแล้วปล่อย เสียงที่ได้จากการดึงปล่อยหนังยาง จะดังทุ้มต่ำ คล้ายเสียงเบส
สมัยก่อนนั้น ยังไม่มีเบส จึงใช้ไหซองแทนเสียงเบส โดยจำนวนไหที่นิยมใช้ ประมาณ 4-5 ลูก ปรับระดับคีย์เสียงให้เหมาะสมกับเสียงดนตรีหลัก โดยปรับความตึงของหนังยาง วางเรียงไหบนขาตั้งไห จากใหญ่ไปหาเล็ก และผู้บรรเลงไหซอง ก็เป็นผู้ชายเหมือนเครื่องดนตรีอื่นๆ
วงโปงลางในยุคปัจจุบัน ส่วนใหญ่ ใช้เบส คุมจังหวะ จึงไม่มีการดีดไหซองจริงๆ ซึ่งไหซองในปัจจุบัน เป็นเพียงโชว์ลีลาการดีดประกอบท่าฟ้อนรำแบบอ่อนช้อยแพรวพราว ดังนั้น จึงนิยมใช้ผู้หญิงเป็นผู้ดีดไห เรียกว่า นางดีดไห หรือนางไห และนางไหนี่เอง ถือเป็นจุดดึงดูดความสนใจของผู้ชมได้มาก
ที่มา : http://www.isan.clubs.chula.ac.th/dontri/?transaction=hai.php
โอกาศที่ใช้แสดง
Hotline : 085-507-6205