มโนราห์บูชายัญเป็นศิลปะการแสดงพื้นบ้านของภาคใต้ โดยเฉพาะมีท่ารำที่อ่อนช้อย สวยงาม บทร้องเป็นกลอนสด ผู้ขับร้องต้องใช้ปฏิภาณไหวพริบ สรรหาคำให้สัมผัสกันได้อย่างฉับไว มีความหมายทั้งบทร้อง ท่ารำและเครื่องแต่งกาย เครื่องดนตรีประกอบด้วย กลอง ทับคู่ ฉิ่งโหม่ง ปี่ชวา และกรับ ปัจจุบันพัฒนาเอาเครื่องดนตรีสากลเข้าร่วมด้วย
การแสดง
มโนราห์ นิยมจัดแสดง ตามงานเทศกาลต่างๆ ในท้องถิ่น ภาคใต้ ปัจจุบัน มีการแสดง ประเภทอื่นให้ดูมากขึ้น เช่น วงดนตรี คอนเสิร์ต ภาพยนตร์ โดยเฉพาะ โทรทัศน์ วีดีโอ และซีดี ที่มีหนัง มีละคร ให้ดูกันถึงบ้าน ทำให้ศิลปะ การแสดงประเภทนี้ ลดความนิยมลงไป จะหาชมได้ในโอกาส สำคัญๆ เช่น งานอนุรักษ์วัฒนธรรม ในพิธีไหว้ครูของ
มโนราห์ (โนราโรงครู) หรือในงานต่างๆ ที่เจ้าภาพผู้จัดยังมี ความรัก และชื่นชอบในศิลปะการแสดง ประเภทนี้
เป็นการแสดงที่นำมาจากการแสดงละครเรื่อง "พระสุธน -
มโนราห์" ตอน
มโนราห์บูชายัญ
ซึ่งกรมศิลปากรได้จัดแสดงขึ้น และแสดงให้ประชาชนชาวไทยดูเป็นครั้งแรกเมื่อปีพ.ศ. ๒๔๙๘ กล่าวถึง เมื่อนางมโนราห์ขอปีก หางได้แล้ว ก็แสร้งกล่าวทูลลา และขอพระราชทานอภัยต่อท้าวอาทิตยวงศ์ แล้วร่ายรำทำท่าคล้ายกับจะกระโดดเข้ากองไฟ ระบำชุดนี้ใช้เพลงแขกบูชายัญ โดยอาจารย์มนตรี ตราโมท ได้นำเพลงเร็วของคุณครูหลวงประดิษฐ์ไพเราะ มาบรรเลงร่วมกับโทนและกลองชาตรี ไม่มีเนื้อร้อง ผู้แสดงจะร่ายรำตามจังหวะเครื่องดนตรี
โอกาศที่ใช้แสดง
ชมแล้ว [ 9358 ] 17 ก.พ. 53 09:02
Hotline : 085-507-6205