ฟ้อนมาลัย คำว่า ฟ้อน หมายถึง ลักษณะท่าทางแบบหนึ่งที่เป็นสัญลักษณ์ประจำท้องถิ่นทางภาคเหนือของประเทศไทย
<ฟ้อนมาลัยคือฟ้อนดวงดอกไม้เป็นศิลปะการฟ้อนแบบฉบับอย่างหนึ่งของชาวเชียงใหม่ที่นิยมจัดแสดงกันแพร่หลายมาแต่โบราณ เป็นการแสดงที่นำมาจากการแสดงละครพันทาง เรื่องพระยาผานอง ซึ่งกรมศิลปากรปรับปรุงขึ้น แสดง ณ โรงละครแห่งชาติ เมื่อพุทธศักราช ๒๕๐๑ โดย ท่านผู้หญิงหม่อม แผ้ว สนิทวงศ์เสนีย์ ประดิษฐ์ท่ารำ อาจารย์มนตรี ตราโมท ผู้เชี่ยวชาญดนตรีไทยของกรมศิลปะกรได้จัดแต่งเนื้อร้องและทำแนวทำนองขึ้นใหม่สำหรับใช้บรรเลงด้วยวงปี่พาทย์ อันมีตะเข้ดีดประกอบและใช้แสดงประกอบเป็นครั้งแรกในละคนพันทางเรื่อง พญาผานอง ซึ่งกรมศิลปากรแต่งใหม่
เพื่อจัดแสดงให้แก่ประชาชน ณ โรงละครศิลปากรเมื่อปีพุทธศักราช 2501 จากนั้นจึงนำมาจัดแสดงเป็นวิพิธทัศนาชุดหนึ่งต่างหากสืบมาจนถึงปัจจุบัน
ฟ้อนชุดนี้ออกเป็นเพลงซุ้ม ซึ่งเป็นเพลงลาวชั้นเดียว ปัจจุบันใช้แสดงในโอกาสงานมงคล หรืองานเบ็ดเตล็ดทั่วไป
ชมดอกไม้เบ่งบานสลอนฝูงภมรวะว่อนใฝ่หา
ดอกพิกุลยี่สุ่นจำปาลมพัดพารำเพยขจร
เกดกระถินส่งกลิ่นหอมฟุ้งกำจายจรุงระรื่นเกสร
จันทน์กะพ้อช่างล่อภมรให้หลงเริงร่อนบินว่อนตอม
โอ้ดอกไม้ก็ได้ใช้กลิ่นอวดประทินที่แสนสุดหอม
เร้าฤทัยเราให้ใฝ่ดอมช่างน่าถนอมจริงหนอ
พวกดอกไม้ก็ไม่งามเท่าพักตร์แม่เจ้าแม่ท้าวค้าปิน
สำรวยเลิศช่างเฉิดโฉมฉินบ่มีมลทินทั่วสรรพางค์
ลิ่นดอกไม้ก็ไม่ระรื่นหอมชุ่มชื่นเท่าคุณพระนาง
ข้าเจ้าภักดีบ่มีจืดจางจนชีวิตวางวายเนอ
โอกาศที่ใช้แสดง
ชมแล้ว [ 16802 ] 17 ก.พ. 53 09:45
Hotline : 085-507-6205