กะโป๋
คือกะลามะพร้าว ชาวอีสานรู้จักการใช้ประโยชน์จากกะลามะพร้าวมาเป็นวัสดุและอุปกรณ์ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น กระบวยตักน้ำ และสามารถทำเป็นเครื่องดนตรี เช่น พิณกระแสเดียว และซอของชาวอีสานใต้ เป็นต้น
เป็นการแสดงที่ได้ดัดแปลงมาจากการละเล่นของชาวอีสานใต้ ซึ่งได้แก่ในบริเวณจังหวัด สุรินทร์ บุรีรัมย์ และศรีสะเกษ เป็นการแสดงที่มีความสนุกสนานรื่นเริง โดยใช้กะลาที่ขัดผิวจนมันเป็นอุปกรณ์หลักในการประกอบจังหวะ และที่น่าสังเกตคือ ประเทศต่างๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย กัมพูชา และมาเลเซีย ก็มีการละเล่นเกี่ยวกับการเคาะกะลาเช่นเดียวกัน
(*ปัจจุบัน วิทยาลัยนาฏศิลปร้อยเอ็ดมีความเห็นควรว่า คำว่า 'เซิ้ง' ไม่ได้มีความหมายถึงการฟ้อนรำของชาวอีสาน เพราะ เซิ้ง คือการขับกาพย์ ซึ่งมักจะมีการฟ้อนประกอบด้วย ไม่นับเป็นการร่ายรำ ดังนั้น จึงได้บัญญัติคำว่า 'ฟ้อน' ซึ่งเป็นคำที่ใช้เรียกกริยาการฟ้อนรำของชาวอีสาน ชุดการแสดงใดๆที่เคยเรียกว่า เซิ้ง ก็เปลี่ยนมาเป็น ฟ้อน เช่น เซิ้งแหย่ไข่มดแดง เปลี่ยนเป็น ฟ้อนแหย่ไข่มดแดง ยกเว้น เซิ้งบั้งไฟและเซิ้งนางด้ง เพราะเป็นการแสดงเซิ้งอย่างตรงตัวอยู่แล้ว )
ที่มา :http://www.isan.clubs.chula.ac.th/folkdance/?transaction=roied10.php
โอกาศที่ใช้แสดง
Hotline : 085-507-6205