หมวด ระบำ-ละคร
ญวนรำกระถาง




ญวนรำกระถาง


ญวนรำกระถางเป็นการแสดงที่ได้รับมาจากชาวญวนที่อพยพเข้ามาในประเทศไทยได้ฝึกหัดการแสดงญวนรำกระถางและจัดแสดงถวายพระมหากษัตริย์เพื่อเป็นการตอบแทนพระมหากรุณาธิคุณ และต่อมาได้มีดอกาสนำมาแสดงในงานสำคัญต่างๆ การเข้ามาของญวนรำกระถางมีหลักฐานด้วยกัน 2 ประการ คือ ประการที่หนึ่ง เกิดขึ้นในรัชกาลที่๑ เท่านั้น ส่วนประการที่๒ นั้นเป็นครั้งที่สำคัญที่สุดเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่๓ เป็นพวกญวนอพยพเข้ามาและอยู่ในสังกัดเจ้าฟ้ากรมขุนอิศเศรังสรรค์ (พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัว) และได้มีโอกาสแสดงครั้งแรกในงานพระเมรุ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อต้นรัชกาลที่ 4



ญวนรำกระถางที่ใช้ผู้ชายแสดงแต่เดิม ไม่มีการถ่ายทอดกันสืบมาจนถึงยุคกรมมหรสพในรัชกาลที่ 6 ญวนรำกระถางควบคู่กับรำโคม (แบบไทยหรือรำโคมบัว) แต่ถูกลดความสำคัญลงมาแสดงในงานที่ลดหลั่นกัน ด้วยเหตุที่นิยมใช้รำโคม (บัว) ในงานพระเมรุใหญ่ งานเฉลิมพระชนพรรษา ญวนรำกระถางที่ใช้ผู้ชายแสดงจึงลดความนิยมลงไป ในงานฉลองกรุงเทพมหานครครบรอบ 100 ปี ในปีพ.ศ. 2525 มีครูสง่า ศศิวะณิช ซึ่งเป็นอดีตศิลปินในกรมมหรสพ เป็นผู้ควบคุมการถ่ายทอดฝึกหัดให้กับนักเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร จัดแสดง ณ ท้องสนามหลวง นับเป็นการแสดงชุดญวนรำกระถาง (ชุดผู้ชาย) เป็นครั้งสุดท้าย





ญวนรำกระถาง นาฏสัมพันธ์ รับจัดการแสดง นาฏศิลป์ไทย



อย่างไรก็ดี เมื่อญวนรำกระถาง ได้ถูกนำมาบรรจุไว้ในบทละครดึกดำบรรพ์ซึ่งสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ทรงนำมาบรรจุไว้ในละครดึกดำบรรพ์ใช้ผู้หญิงแสดง ด้วยเหตุนี้จึงเชื่อว่าเค้าเงื่อนของญวนรำกระถางคงจะไม่สูญสิ้นไปทั้งหมด น่าจะมีร่องรอยอยู่ในญวนรำกระถาง ในละครดึกดำบรรพ์ ด้วยเหตุนี้คระผู้วิจัยจึงสนใจที่ศึกษารูปแบบของญวนรำกระถาง ที่ปรากฏในรูปแบบการแสดงละครดึกดำบรรพ์ จากการศึกษารูปแบบการแสดงผู้วิจัยได้นำเสนอญวนรำกระถาง ในรูปแบบของวิทยาลัยนาฏศิลป โดยได้รับการถ่ายทอดมาจากหม่อมครูต่วน (ศุภลักษณ์ ภัทรนาวิก) ตัวละครดึกดำบรรพ์ ผู้ที่มีบทบาทในการนำญวนรำกระถางมาถ่ายทอดในวิทยาลัยนาฏศิลป การแสดงชุดนี้ได้ถูกบรรจุลงในหลักสูตรของวิทยาลัยนาฏศิลปตั้งแต่ปี พ.ศ.2477



รูปแบบการแสดงญวนรำกระถาง ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของชุดนี้อยู่ที่การเตะเท้า ตวัดเท้า ย่ำเท้า และการย้อนไหล่ อันเป็นรูปแบบวิธีการของนาฏศิลปญวน-จีน






ญวนรำกระถาง นาฏสัมพันธ์ รับจัดการแสดง นาฏศิลป์ไทย



การแต่งกายเลียนแบบทหารญวนโบราณ มีลักษณะคล้ายจีน มือทั้ง 2 ข้างถือโคมประกอบท่ารำ ลักษณะสำคัญของการแสดงชุดนี้อยู่ที่ความพร้อมเพรียงของผู้แสดงและแสงไฟที่ปรากฏอยู่ในโคมประกอบคำร้องสำเนียงญวน



โอกาศที่ใช้แสดง

- งานมงคลต่างๆ

- งานต้อนรับชาวต่างชาติ

- งานอีเว้นต์

- งานอวมงคล

- งานเปิดตัวสินค้า





โอกาศที่ใช้แสดง


ชมแล้ว [ 10324 ] 11 ส.ค. 55 23:25


Back