รำฉุยฉายพราหมณ์ เป็นส่วนหนึ่งของการร่ายรำที่งดงามของตัวละครประเภทพระ จากบทพระราชนิพนธ์เบิกโรงดึกดำบรรพ์ เรื่อง พระคเณศร์เสียงา ในสมัยรัชกาลที่ ๖ มีเนื้อเรื่องย่อว่า ปรศุรามเจ้าแห่งพราหมณ์ทะนงตัวว่าเป็นที่โปรดปรานของพระอิศวร คิดจะเฝ้าในโอกาสที่ไม่สมควร พระคเณศร์ได้ห้ามปราม จนเกิดการวิวาท ปรศุรามขว้างขวานโดนงาซ้ายพระคเณศร์หักสะบั้น พระอุมากริ้วปรศุราม จึงสาปให้หมดกำลังล้มกลิ้งดั่งท่อนไม้ พระนารายณ์ทรงเล็งเห็นและเกรงว่าคณะพราหมณ์จะขาดผู้ปกป้อง อีกทั้งทรงทราบว่าพระอุมาเมตตาต่อเด็ก จึงแปลงกายเป็น
พราหมณ์น้อย ซึ่งเป็นปฐมเหตุให้เกิดการ
รำฉุยฉายพราหมณ์ขึ้น
เนื้อเรื่องต่อไปพระอุมาประทานพรให้
พราหมณ์ และสามารถแก้ไขคำสาปให้กลับกลายเป็นดีในที่สุด ลีลาท่ารำเชื่อกันว่าเป็นผลงานของพระยานัฏกานุรักษ์ ต่อมากรมศิลปากรได้ปรับปรุงท่าร่ายรำ ให้เป็นลีลาท่ารำของตัวพระ ที่มีลักษณะของความเป็นหนุ่มน้อยที่มีความงดงาม และท่ามีนวยนาดกรีดกราย โอกาสที่ใช้แสดง ใช้เป็นการรำเบิกโรงและการแสดงในงานเบ็ดเตล็ดทั่วไป ดนตรีประกอบการแสดง ใช้วงปี่พาทย์บรรเลง
บทร้อง
ฉุยฉายเอย ช่างงามขำช่างรำโยกย้าย สะเอวแสนอ่อนอรชรช่วงกาย วิจิตรยิ่งลายที่คนประดิษฐ์ สองเนตรคมขำแสงดำมันขลับ ชม้อยเนตรจับช่างสวยสุดพิศ น่ารักเอย น่ารักดรุณ เหมือนแรกจะรุ่น จะรู้เดียงสา เจ้ายิ้มเจ้าแย้ม แก้มเหมือนมาลา จ่อจิตติดตา เสียจริงเจ้าเอย
โอกาศที่ใช้แสดง
ชมแล้ว [ 11930 ] 16 ก.พ. 53 22:45
Hotline : 085-507-6205