ครั้งที่แล้วได้พูดถึงเกี่ยวกับที่มาและประวัติของเครื่องแต่งกายโขนกันแล้วนะค๊ะ
ครั้งนี้เรามาทำความรู้จักกับการแต่งกายของตัวละครต่างๆบ้างดีกว่า ซึ่งได้แก่
ตัวพระ ตัวนาง ตัวยักษ์ และตัวลิง ค่ะ
การแต่งกายตัวละคร
๑
ตัวพระ
สวมเสื้อ แขนยาวปักดิ้น และเลื่อม มีอินทรธนูที่ไหล่ ส่วนล่างสวมสนับเพลา (กางเกง)ไว้ข้างในนุ่งผ้ายกจีบโจงไว้หางหงส์ทับสนับเพลาด้านหน้ามีชายไหวชายแครงห้อยอยู่ศีรษะสวมชฎา สวมเครื่องประดับต่างๆ เช่น กรองคอ ทับทรวง ตาบทิศ ปั้นเหน่ง ทองกร กำไลเท้าเป็นต้น แต่เดิมตัวพระจะสวมหัวโขน แต่ภายหลังไม่นิยม เพียงแต่แต่ง หน้าและสวมชฎาแบบละครในเท่านั้นตัวพระ ผู้แสดงที่เป็นมนุษย์ทั้งผู้หญิง ผู้ชาย และเทวดา ซึ่งได้แก่ พระราม พระลักษณ์ พระพรตพระสัตรุต พระอิศวร พระนารายณ์ พระพรหมในปัจจุบันนี้มักสวมเพียงชฎาไม่ได้สวมหัวโขนปิดหน้าดังสมัยโบราณ เพียงแต่ชฎาของเทพเจ้าต่างๆนั้นจะสามารถสังเกตได้จากลักษณะของชฎานั้นๆ เช่น พระพรหมจะสวมชฏาที่มีพระพักตร์อยู่ ๔ ด้าน พระอินทร์จะสวมชฎายอดเดินหนเป็นต้น ผู้ที่จะหัดแสดงเป็นตัวพระ จะคัดผู้มีลักษณะใบหน้าสวย จมูกเป็นสัน ลำคอโปร่งระหงไหล่ลาดงาม ช่วงอกใหญ่ลำตัวเรียวเอวเล็ก ตามแบบชายงามในวรรณคดีไทย
๒.
ตัวนาง
สวมเสื้อแขนสั้นเป็นชั้นในแล้วห่มสไบทับ ทิ้งชายไปด้านหลังยาวลงไปถึงน่อง ส่วนล่างนุ่งผ้ายกจีบหน้า ศีรษะสวมมงกุฎ รัดเกล้า หรือกระบังหน้าตามแต่ฐานะของตัวละคร ตามตัวสวมเครื่องประดับต่างๆ เช่นกรองคอ สังวาล พาหุรัด เป็นต้นแต่เดิมตัวนางที่เป็นตัวยักษ์เช่น นางสำมนักขา นางกากนาสูร จะสวมหัวโขน แต่ภายหลังมีการแต่งหน้าไปตามลักษณะของตัวละครนั้นๆโดยไม่สวมหัวโขนบ้างตัวนาง ตัวละครตัวนางในเรื่องรามเกียรติ์นั้นมีทั้งที่เป็นมนุษย์ ปลา นาค แต่ละตัวจะบอกชาติกำเนิดด้วยการสวมศีรษะ และหางเป็นสัญลักษณ์ ตัวนางในโขน และละครรำนั้นมี ๒ประเภท คือนางกษัตริย์ ซึ่งมีลีลาและอิริยบถแสดงถึงความนุ่มนวลแลดูเป็นผู้ดีกับนางตลาดซึ่งจะมีบทบาทท่าทางกระฉับกระเฉงว่องไวสะบัดสะบิ้งผู้ที่จะรับบทนางตลาดได้จะต้อง เป็นผู้ที่มีความเชี่ยวชาญทางนาฏศิลป์มากกว่าผู้ที่แสดงเป็นนางกษัตริย์ ผู้ที่จะหัดแสดงเป็นตัวนาง จะคัดเลือกผู้ที่มีลักษณะคล้ายตัวพระ แต่ต้องมีใบหน้างาม กิริยาท่าทางนุ่มนวลอย่างผู้หญิง
๓.
ตัวยักษ์
เครื่องแต่งกายส่วนใหญ่คล้ายตัวพระ จะแตกต่างกันที่การนุ่งผ้า คือตัวยักษ์จะนุ่งผ้าไม่มีหางหงส์ แต่มีผ้าปิดก้นลงมาจากเอวส่วนศีรษะสวมหัวโขนตามลักษณะของตัวละคร ซึ่งมีอยู่ประมาณร้อยชนิด ตัวยักษ์ ตัวยักษ์จะต้องมีลักษณะสูง วงเหลี่ยมตลอดจนการทรงตัวต้องดูแข็งแรง บึกบึน ลีลาท่าทางมีสง่า ซึ่งต้องได้รับการฝึกหัดมาอย่างดีเพราะถือกันว่าหัดยากกว่าตัวอื่นๆ ผู้ที่จะหัดแสดงเป็นตัวยักษ์ คัดเลือกผู้ที่มีลักษณะคล้ายตัวพระ แต่ไม่ต้องเลือกหน้าตา รูปร่างต้องใหญ่ และท่าทางแข็งแรง
๔.
ตัวลิง
เครื่องแต่งกายส่วนใหญ่คล้ายตัวยักษ์ แต่มีหางลิงห้อยอยู่ใต้ผ้าปิดก้นอีกที สวมเสื้อตามสีประจำตัวในเรื่องรามเกียรติ์ ไม่มีอินทรธนู ตัวเสื้อปักลายขดเป็นวง สมมุติว่าเป็นขนตามตัวลิง ส่วนศีรษะสวมหัวโขนตามลักษณะของตัวละคร ซึ่งมีอยู่ประมาณ ๔๐ ชนิด ตัวลิง ตัวลิงจะต้องมีท่าทางลุกลี้ลุกลน กระโดดโลดเต้นตามลักษณะธรรมชาติของลิง โดยเฉพาะตัวหนุมานทหารเอกซึ่งจะต้องได้รับการฝึกมาเป็นอย่างดี ผู้ที่จะหัดแสดงเป็น ตัวลิง คัดเลือกผู้ที่มีลักษณะป้อมๆ ท่าทางหลุกหลิกคล่องแคล่วว่องไวผู้ที่จะหัดโขนนั้นมักเป็นผู้ชายตามธรรมเนียมมาแต่โบราณ โดยเริ่มหัดกันตั้งแต่อายุ ๘ -๑๒ ขวบ
ชมแล้ว [ 20556 ] 12 ส.ค. 53 21:32 โดย ammmy
Hotline : 085-507-6205